เมนู

แม้วาจาสุภาษิตนี้ ก็พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์
สุขในโลกทั้งสอง แต่เพราะเหตุที่วาจาสุภาษิตนี้นับเนื่องในวินัย ฉะนั้น. ถึง
ไม่สงเคราะห์วาจาสุภาษิตนี้ไว้ด้วยวินัยศัพท์ ก็พึงทราบว่าเป็นวินัย. เมื่อเป็น
เช่นนั้น วาจามีการแสดงธรรมแก่คนเหล่าอื่นเป็นต้น พึงทราบว่าเป็นวาจา
สุภาษิต ในที่นี้ ด้วยความกระอักกระอ่วนนี้หรือ. ความจริงวาจาสุภาษิตตรัสว่า
เป็นมงคล ก็เพราะเป็นเหตุประสบสุขในโลกทั้งสองและพระนิพพานของสัตว์
ทั้งหลาย ก็เหมือนการอยู่ในปฏิรูปเทศ. พระวังคีสเถระกล่าวไว้ว่า1
ยํ พทฺโธ ภาสตี วาจํ เขมํ นิพฺพานปตฺติยา
ทุกฺขสฺสนฺตกิริยาย สา เว วาจานมุตฺตมา.
พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด อันเกษม เพื่อบรรลุ
พระนิพพาน เพื่อทำที่สุดทุกข์ พระวาจานั้นแลเป็น
ยอดของวาจาทั้งหลาย.

พระพุทธเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถามไว้ 4 มงคล คือ พาหุสัจจะ 1
สิปปะ 1 วินัยที่ศึกษาดีแล้ว 1
และ วาจาสุภาษิต 1 ด้วยประการฉะนี้.
ก็ความที่มงคลนั้นเป็นมงคล ก็ได้ชี้แจงไว้ในมงคลนั้น ๆ แล้วทั้งนั้นแล.
จบพรรณนาความแห่งคาถานี้ว่า พาหุสฺจญฺจ เป็นต้น

พรรณนาคาถาว่า มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ


บัดนี้ จะพรรณนาในคาถานี้ว่า มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ. มารดาและ
บิดา เหตุนั้น ชื่อว่า มารดาและบิดา. บทว่า อุปฏฺฐานํ แปลว่า การบำรุง.
บุตรทั้งหลายด้วย ภรรยาทั้งหลายด้วย ชื่อว่าบุตรและภรรยา การสงเคราะห์
ชื่อว่า สังคหะ. การงานคือกิจกรรมอากูลหามิได้ ชื่อว่าไม่อากูล. คำที่เหลือ
มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล. นี่เป็นการพรรณนาบท.
1. ขฺ.สฺ. 24/ข้อ 357